แก้ไข Data-Feed จาก Lazadaเพื่อลงสินค้าในfacebook

แก้ไข DATA-FEED จาก LAZADA

แก้ไข Data-Feed จาก Lazada

จากบทเรียน “การดาวน์โหลดไฟล์เทมเพลต CSV ตัวอย่าง” ให้ทำการดาวน์โหลดไฟล์ที่ชื่อว่า da_catalog_commerce_commented_template.csv มาก่อนหรือ คลิกที่นี่
เสร็จแล้วให้เปิดไฟล์ด้วยโปรแกรม Excel

ต่อไปก็ให้ไปดาวน์โหลดไฟล์ Data-Feed รายการสินค้าจากทาง Lazada Affiliate ลองเลือกสินค้าตัวอย่างมาสัก 1 หน้า 50 ชิ้นดูก่อน ดูวิธีการดาวน์โหลดได้ในบทเรียน “การดาวน์โหลด Data-Feed ที่ Lazada” ประกอบแล้วเปิดด้วยโปรแกรม Excel เช่นกัน (หรือดาวน์โหลดไฟล์ data_promo_list (huawei50).xlsx ตัวอย่าง คลิกที่นี่)
เมื่อเปิดไฟล์ Data-Feed ขึ้นมาแล้วให้กดที่ปุ่ม “Enable Editing” ก่อนเพื่อเปิดทำการแก้ไขไฟล์

จากตัวอย่างจะมีรายการสินค้าทั้งหมด 50 รายการ และแถวแรกจะเป็นหัวข้อแสดงรายละเอียดของข้อมูลสินค้าในแต่ละคอลัมภ์

ข้อมูลของแต่ละคอลัมภ์ในไฟล์ Data-Feed จาก Lazada Affiliate ที่เราจะนำไปใช้งานกับร้านค้าบน FanPage ของเรา

มาดูว่าขาดข้อมูลหัวข้อไหนกันบ้าง
 
Facebook
 
Lazada
1.
id
 >
item_id
2.
title
 >
product_name
3.
description
 –
ไม่มี ให้คัดลอกจาก “product_name”
4.
price
 >
discounted_price
5.
image_link
 >
picture_url
6.
brand
>
brand
7.
link
 >
promo_link
8.
availability
เพิ่ม “in stock”
9.
condition
เพิ่ม “new”
10.
inventory
เพิ่ม “1”

จากตารางเราจะเห็นได้ว่าขาดข้อมูล “description” เราก็ต้องสร้างคอลัมภ์เพิ่มขึ้นมาใหม่แล้วทำการคักลอกข้อมูลจากคอลัมภ์ “product_name” ลงไปแทน เสร็จแล้วก็สร้างคอลัมภ์ “availability”, “condition” และ “inventory” เพิ่มอีกตามลำดับ

ขั้นตอนที่ 1
ทำการแทรกแถวคอลัมภ์ที่ไฟล์ Data-Feed ของทาง Lazada เพิ่มเติมอีก 4 คอลัมภ์ ถัดจากคอลัมภ์ “product_name” เพื่อเพิ่มช่องใส่ข้อมูลที่จำเป็นในการอัพโหลดไปยังร้านค้าบน Facebook FanPage
ทำการเลือกคอลัมภ์ “D” แล้วคลิกปุ่มเม้าส์ขวาก็จะมีเมนูแสดงขึ้นมา เลือกที่หัวข้อ “Insert” เพื่อเพิ่มคอลัมภ์ว่าง 1 คอลัมภ์

ทำแบบนี้อีก 3 ครั้ง เราจะได้คอลัมภ์ใหม่มาจำนวน 4 คอลัมภ์ด้วยกัน

ขั้นตอนที่ 2
เนื่องจาก Data-Feed ของทาง Lazada Affiliate ไม่มีข้อมูลในส่วนของรายละเอียดตัวสินค้า (description) มาให้เราจึงต้องทำการคัดลอกชื่อหัวข้อสินค้า (product_name) มาใช้แทนรายละเอียดของสินค้า
ทำการคัดลอกข้อมูลจากคอลัมภ์ “C” product_name ไปยังคอลัมภ์ “D”
คลิกเลือกที่คอลัมภ์ “C” แล้วคลิกเม้าส์ขวาเลือกเมนู “Copy”

แล้วไปคลิกเลือกคอลัมภ์ “D” คลิกเม้าส์ขวาเลือกเมนู “Paste”

ขั้นตอนที่ 3
ทำการเพิ่มข้อมูลที่คอลัมภ์ “E” และ “F”
โดยที่คอลัมภ์ “E” ตั้งชื่อหัวข้อว่า “availability” ใส่ข้อมูลแถวแรกเป็น “in stock” (มีสินค้าสต๊อกอยู่ในร้าน)
ถัดมาที่คอลัมภ์ “F” ตั้งชื่อหัวข้อว่า “condition” ใส่ข้อมูลแถวแรกเป็น “new” (สินค้าใหม่)
และที่คอลัมภ์ “G” ตั้งชื่อหัวข้อว่า “inventory” ใส่ข้อมูลแถวแรกเป็น “1” (หรือจำนวนสินค้าที่ต้องการ 1-30 ชิ้น ไม่จำเป็นต้องใส่ตามจริงก็ได้)

คลิกเลือกเซลล์แถวที่ 2 คอลัมภ์ E และ F คลุมคำว่า “in stock” กับ “new” แล้วเลื่อนเม้าส์มาตรงมุมล่างขวาจนเปลี่ยนไอคอนเป็นเครื่องหมาย “+”

ทำการคลิกเม้าส์ปุ่มซ้ายค้างไว้แล้วลากเม้าส์เลื่อนลงมาด้านล่าง

คลิกปุ่มเม้าส์ซ้ายค้างไว้ ทำการคัดลอกข้อมูลจากแถวที่ 1 เลื่อนลงมาจนถึงสินค้ารายการที่ 50 (ตรงแถวที 51) แล้วถึงปล่อยปุ่ม

ก็จะทำการคัดลอก ข้อมูล “in stock” กับ “new” มาจนครบ 50 รายการ

ทำแบบเดิมกับคอลัมภ์ “G” คลิกเลือกเซลล์แถวที่ 2 คอลัมภ์ G คลุมเลข “1” แล้วเลื่อนเม้าส์มาตรงมุมล่างขวาจนเปลี่ยนไอคอนเป็นเครื่องหมาย “+”

ทำการคลิกเม้าส์ปุ่มซ้ายค้างไว้แล้วลากเม้าส์เลื่อนลงมาด้านล่าง

คลิกปุ่มเม้าส์ซ้ายค้างไว้ ทำการคัดลอกข้อมูลจากแถวที่ 1 เลื่อนลงมาจนถึงสินค้ารายการที่ 50 (ตรงแถวที 51) แล้วถึงปล่อยปุ่ม

ขั้นตอนที่ 4
เราจะนำหัวข้อจากไฟล์ตัวอย่างของทาง Facebook FanPage จำนวน 9 หัวข้อมาแทนที่หัวข้อในตารางรายการสินค้า Data-Feed ของ Lazada Affiliate แล้วทำการเพิ่มคอลัมภ์ช่องข้อมูล “inventory” เพื่อใส่จำนวนสินค้าในสต๊อก

 
Facebook
แทนที่
Lazada Affiliate
1.
id
>
item_id
2.
title
>
product_name
3.
description
>
product_name
4.
price
>
discounted_price
5.
image_link
>
picture_url
6.
brand
>
brand
7.
link
>
promo_link
8.
availability
9.
condition
10.
inventory

ทำการเปลี่ยนหัวข้อที่ไฟล์ Data-Feed ของทาง Lazada Affiliate ในหัวตารางแต่ละคอลัมภ์

เมื่อเปลี่ยนแล้วก็จะได้หัวข้อที่จำเป็นในแต่ละคอลัมภ์จนครบ 10 รายการ ตามรูปแบบที่ Facebook FanPage ได้กำหนดไว้ในไฟล์ตัวอย่าง

ขั้นตอนที่ 5
ทำการแก้ไขลิงค์รูปภาพสินค้าของ Lazada Affiliate เนื่องจากในข้อมูลบางลิงค์อาจจะเป็นรูปเล็กเราจึงจำเป็นต้องทำการแก้ไขด้วยเครื่องมือ “ค้นหาและแทนที่” ในโปรแกรม Excel

เราจะค้นหาที่คอลัมภ์ “K” image_link คือลิงค์ URL ของรูปภาพสินค้า
คลิกที่ปุ่มเครื่องมือ “Find & Select” แล้วเลือกที่เมนู “Replace…” หรือใช้คีย์ลัด Ctrl+H เพื่อเปิดหน้าต่างการค้นหาและแทนที่ “Find and Replace” ขึ้นมา
เราจะทำการค้นหาข้อความ “-catalog.jpg” แล้วแทนที่ด้วย “.jpg” แล้วกดที่ปุ่ม “Replace All” 

รอโปรแกรมทำการค้นหาและแทนที่สักครู่ (ขึ้นอยู่กับขนาดข้อมูลของไฟล์) เมื่อเสร็จแล้วก็จะมีหน้าแสดงแสดงรายงานว่าค้นพบและแทนที่ไปกี่รายการ

เสร็จแล้วทำการบันทึกไฟล์เป็นนามสกุล *.xlsx เหมือนเดิม


สำหรับไฟล์ Data-Feed ที่ดาวน์โหลดมาจาก Lazada Affiliate ก็ให้ทำตามขั้นตอนนี้ ให้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลเท่าที่จำเป็นส่วนข้อมูลในช่องอื่นๆก็ปล่อยทิ้งไว้แบบเดิมโดยไม่ต้องทำการลบแต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ช่วยจัดการแก้ไข Data-Feed ของ Lazada Affiliate ที่แนะนำไว้ท้ายสุดของคอร์สเรียน ก็จะช่วยประหยัดเวลาในการแก้ไขไฟล์ Data-Feed ได้เป็นอย่างมาก หากจำเป็นต้องใช้งานก็สามารถติดต่อกับผู้สอนได้โดยตรงตามช่องทางที่ให้ไว้พร้อมรับส่วนลดพิเศษ หรือทำการแก้ไขเองตามขั้นตอนในบทเรียนที่สอนไว้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การแก้ไข URL ของรูปภาพเพื่อทำการเปลี่ยน URL ของรูปภาพบางรูปที่จะแสดงรูปภาพขนาดเล็กให้เป็นขนาดปกติ โดยเฉพาะที่ Data-Feed ของ Lazada กับ AliExpress

แก้ไข Data-Feed จาก AccessTradeเพื่ออัพขึ้นร้านค้าบนเฟสบุ๊ค

การประยุกต์ใช้งาน WORDPRESS PLUGINS แจ้งเตือนด้วย LINE NOTIFY