ขั้นตอนการอัพโหลดรายการสินค้าจาก Data-Feed

ขั้นตอนการอัพโหลดรายการสินค้าจาก Data-Feed

ในบทเรียนนี้เราจะมาเรียนการอัพโหลดรายการสินค้าจากไฟล์ Data-Feed ที่เราได้เตรียมไว้จากบทเรียนก่อนหน้านี้แล้ว และต้องบันทึกไฟล์ให้เป็นนามสกุล *.csv ให้เรียบร้อยก่อน
ให้เลือกไฟล์ Data-Feed ที่มีรายการสินค้าสัก 100 รายการเพื่อมาทดสอบในการอัพโหลดครั้งแรก
เข้าไปที่ Facebook FanPage ที่เราสร้างแล้วคลิกที่เมนู “ร้านค้า” แล้วคลิกเลือกที่ปุ่ม “จัดการแค็ตตาล็อกของคุณ” (หากใครไม่มีปุ่มนี้ต้องเพิ่มสินค้าชิ้นแรกก่อน ดูที่บทเรียน “การเพิ่มสินค้าชิ้นแรกในร้านค้า” )

ก็จะเปิดมายังหน้าจัดการแค็ตตาล็อกในร้านค้าของเรา จะมีสินค้าชิ้นแรกที่เราได้ทำการเพิ่มจากบทเรียนทีผ่านมาอยู่ 1 ชิ้นด้วยกัน หากเปิดไปหน้าอื่นให้คลิกมาที่เมนู “สินค้า”
ขั้นตอนต่อไปให้คลิกปุ่ม “เพิ่มสินค้า” จะแสดงเมนูย่อยขึ้นมาให้คลิกเลือกที่ “เพิ่มสินค้าใหม่”

ก็จะพามายังหน้า “เพิ่มสินค้าลงในแค็ตตาล็อกของคุณ” เลือกตัวเลือกอันกลาง “Use Data Feeds” เพื่อใช้งานด้วยการอัพโหลดไฟล์ Data-Feed รายการสินค้าที่เราได้เตรียมไว้ แล้วกดที่ปุ่ม “Next”

ต่อมาที่หน้าขั้นตอน “เพิ่มสินค้าด้วยฟีดข้อมูล” ให้เลือกที่ตัวเลือก “อัพโหลดหนึ่งครั้ง” แล้วคลิกที่ปุ่ม “อัพโหลดไฟล์” ด้านล่าง

เลือกไฟล์ Data-Feed รายการสินค้าที่เราได้ทำการแก้ไขเตรียมไว้ แล้วกดปุ่ม “Open”

รอการอัพโหลดไฟล์ Data-Feed สักครู่ (ขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์)

ต่อมาที่หัวข้อ “เลือกสกุลเงินเริ่มต้น” ให้เลือกเป็นค่า “TH – บาท (ไทย)”

เมื่ออัพโหลดไฟล์และทำการเปลี่ยนสกุลเงินเรียบร้อยแล้วก็ให้กดที่ปุ่ม “เริ่มอัพโหลด” ได้เลย

ก็จะเปิดมายังหน้าอัพโหลดฟีดข้อมูลและทำการสร้างรายการสินค้าในร้านของเรา

รอสักพักขึ้นอยู่กับขนาดไฟล์และจำนวนสินค้าใน Data-Feed ที่เราเลือกอัพโหลด
เมื่อเสร็จแล้วจะเป็นแถบสีเขียว แล้วคลิกที่ปุ่ม “ดูสินค้า” เพื่อเข้าไปดูสินค้าที่เพิ่งสร้าง

ก็จะมีรายการสินค้าจากไฟล์ Data-Feed ที่เราได้ทำการอัพโหลดเพิ่มขึ้นมา หากมีสินค้าเยอะก็รอระบบสักพักก็จะเริ่มโหลดสินค้าแต่ละชิ้นแสดงขึ้นมา

บางครั้งสินค้าอาจจะโหลดมาได้ไม่ครบเพราะติดเงื่อนไขอะไรบางอย่างให้ไปที่เมนู “แหล่งข้อมูลสินค้า” แล้วเลือกไฟล์ Data-Feedรายการสินค้าที่เราเพิ่งอัพโหลดไป

ก็จะแสดงภาพรวมในการอัพโหลดไฟล์ Data-Feed รายการสินค้า
กรอบสีแดง จะแสดงรายการสินค้าที่สร้างสำเร็จ
กรอบสีเขียว จะแสดงรายละเอียดของผลลัพธ์ในการอัพโหลด เช่น สินค้าในไฟล์มีอยู่ 100 รายการ สามารถเพิ่มสินค้าได้แค่เพียง 91 รายการ และมีสินค้า 9 รายการที่ไม่สามารถเพิ่มเข้ามาได้เนื่องจากมีปัญหา
กรอบสีน้ำเงิน จะแสดงรายละเอียดของปัญหาโดยจะแจ้งให้เราทราบว่าเกิดจากอะไรบ้าง แล้วไปทำการแก้ไขในไฟล์ Data-Feed ใหม่ให้ถูกต้อง (หากมีข้อผิดพลาดลงไม่ครบบ้าง หรือจะเน้นลงสินค้าจำนวนมากๆอาจจะไม่ต้องกลับไปแก้ไขก็ได้) 

ลองมาเข้าดูที่หน้า Facebook FanPage ของเราดู ก็จะมีรายการสินค้าเพิ่มขึ้นมา

คลิกเข้าไปดูในสินค้าก็จะเปิดหน้าต่างแสดงรายละเอียดของสิ้นค้าตัวนั้นขึ้นมา ก็จะมีข้อมูล ชื่อสินค้า, ราคา, รายละเอียดสินค้า สำหรับปุ่ม “สั่งซื้อบนเว็บไซต์” หากคลิกแล้วก็จะเปิดไปยังหน้าสินค้าตามลิงค์ URL ของแต่ละ Affiliates ที่เราได้ใส่ข้อมูลเอาไว้

ก็จะเปิดไปยังเว็บไซต์ที่เราเป็น Affiliates และแสดงรายละเอียดของสินค้า หากลูกค้าทำการสั่งซื้อเราก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจาก Affiliates นั้นๆ



จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการอัพโหลดไฟล์ Data-Feed รายการสินค้าไม่ได้ยุ่งยาก ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการเตรียมไฟล์ Data-Feed ให้ถูกต้องตามรูปแบบมากกว่า บางครั้งอาจจะอัพโหลดสร้างรายการสินค้าไม่ครบบ้างหากไม่เยอะจนเกินไปก็ไม่ต้องทำการแก้ไข หรือบางทีสินค้าบางอย่างอาจจะขัดต่อกับข้อบังคับของ Facebook ก็จะมีกรอบสีแดงแจ้งเตือนว่าไม่สามารถแสดงได้ อาจจะทำการลบทิ้งหรือปล่อยทิ้งไว้ก็ไม่เป็นไรเพราะจะไม่แสดงผลในหน้า FanPage
การอัพโหลดไฟล์ Data-Feed ยังมีการใช้งานได้อีกหลายแบบ เช่น การตั้งเวลาในการอัพโหลด การอัพเดตรายการสินค้าเดิม แต่ในบทเรียนนี้ก็จะสอนเนื้อหาเพียงเบื้องต้นเท่านั้น ลองไปศึกษาเพิ่มเติมได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การแก้ไข URL ของรูปภาพเพื่อทำการเปลี่ยน URL ของรูปภาพบางรูปที่จะแสดงรูปภาพขนาดเล็กให้เป็นขนาดปกติ โดยเฉพาะที่ Data-Feed ของ Lazada กับ AliExpress

สร้างฟีดข้อมูลจากเทมเพลตFacebook

แก้ไข Data-Feed จาก AccessTradeเพื่ออัพขึ้นร้านค้าบนเฟสบุ๊ค